ภาพน่ารัก

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา



วันสำคัญทางศาสนาพุทธ .
วันมาฆบูชา .ศ.๒๕๔๙ คำว่า “มาฆบูชา” เป็นชื่อของพิธีบูชา และการทำบุญในพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง ซึ่งปรารภการประชุมใหญ่ของพระสาวกที่เรียกว่า จาตุรงค์สันนิบาต ในวันเพ็ญเดือน ๓ ณ วันเวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์
    คำว่า จาตุรงค์สันนิบาต แปลว่า การประชุมพระสาวก ซึ่งประกอบด้วยองค์สี่ หรือการประชุมพร้อมด้วยองค์สี่ ได้แก่
       ๑. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้น ล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือได้รับอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
       ๒. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
       ๓. พระสงฆ์ที่ประชุมวันนั้นมีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
       ๔. วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ พระจันทร์เต็มดวงบริบูรณ์
        คำว่า โอวาทปาติโมกข์ แปลว่า โอวาทที่เป็นประธาน หรือคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา โดยย่อมี ๓ ประการ
            ๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง (ละชั่ว)
            ๒. การยังกุศลให้ถึงพร้อม (ทำความดี)
            ๓. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (ทำจิตใจบริสุทธิ์) .วันวิสาขบูชา .ศ. ๒๕๔๙ คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาปูรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ถ้าหากตรงกับปีอธิกมาส คือ ปีที่มีเดือน ๘ สองหนวันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
     ในวันวิสาขบูชา มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ๓ ประการ และจัดว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญคือ
        ๑. เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพีนีวัน อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะแคว้นสักกะ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวชจนได้บรรจุนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าเป็นวันเกิดของพระพุทธเจ้าหรือวันพระพุทธ
         ๒. เป็นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ มหาโพธบัลลังก์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราฝั่งตะวันตก ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธในตอนเช้ามือของวันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี จึงถือว่าเป็นวันเกิดขึ้นของพระธรรมหรือวันพระธรรม
          ๓. เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ ระหว่างตันสาละ ๒ ตัน ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ใกล้กรุงกุสินารา เมื่อวันอังคารขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง .วันอาสาฬหบูชา .ศ. ๒๕๔๙ ความหมายของ “วันอาสาฬหบูชา” อาสาฬหบูชา ประกอบขึ้นจากคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห์ (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันเข้าจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ . เป็นวันที่พระพุทธทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศนากัณฑ์แรก) คือ พระธัมจักกัปปวัตตนสูตร
     ๒. เป็นวันเกิดพระอริยสงฆ์สาวกองค์แรก คือ ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมเมื่อได้สดับพระปฐมเทศนา
     ๓. เป็นวันเกิดพระสังฆรัตนะ ฉะนั้น พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบ ทั้ง ๓ รัตนะในวันนี้ . วันอัฏฐมีบูชา .ศ. ๒๕๔๙ . เมื่อถึงวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาหบูชา และวันอัฏฐมีบูชา เวียนมาถึงในตอนเช้า นอกจากจะมีการทำบุญตักบาตรตามปกติแล้ว สาธุชนอาจรับอุโบสถศีล และฟังเทศน์ตามวัดที่ใกล้เคียงหรือคุ้นเคย ในตอนค่ำนำธูป เทียน ดอกไม้ ไปประชุมพร้อมกันที่โบสถ์ หรือเจดียสถานแห่งใดแห่งหนึ่ง .เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมแล้ว คฤหัสถ์ทั้งหลาย ยืนถือธูป เทียน ดอกไม้ ประนมมืออยู่ถัดพระสงฆ์ออกไป เมื่อพระภิกษุที่เป็นประธานกล่าวนำคำบูชาที่ประชุมทั้งหมดว่าตามพร้อม ๆ กัน เมื่อกล่าวคำบูชาเสร็จแล้ว พระสงฆ์เดินนำหน้าเวียนขวารอบพระอุโบสถ หรือพระสถูปเจดีย์ ๓ รอบ ซึ่งเรียกว่า เวียนเทียน คฤหัสถ์เดินตามอย่างสงบ . ขณะเวียนเทียนรอบแรกให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ รอบที่ ๒ ระลึกถึงพระธรรมคุณ รอบที่ ๓ ระลึกถึงพระสังฆคุณ . ข้อที่ควรทำเป็นพิเศษในวันนี้ ก็คือ ควรพิจารณาความหมายของการเว้นชั่ว ทำดีทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ให้เข้าใจชัดเจนลึกซึ้ง แล้วตั้งใจปฏิบัติได้ตามนั้น .คณะสงฆ์ ทางราชการ ภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และพุทธมณฑล ตลอดจนวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร .วันเข้าพรรษา พ.ศ. ๒๕๔๙ .วันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ .วันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ มีปฏิบัติน้อยมาก) .วันออกพรรษา



๗. วันตักบาตรเทโว ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๘ ตุลาคม พ
พิธีตักบาตรเทโว คือ การทำบุญพิเศษในวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนนิยมไปตักบาตรที่วัดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า
. พิธีตักบาตรเทโว .ศ. ๒๕๔๙ “การตักบาตรเทโว” คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากที่ทรงประทับจำพรรษาอยู่ตลอด ๓ เดือน เพื่อโปรดพุทธมารดาโดยเสด็จลงที่ประตูเมืองสังกัสสะ

วันธัมมัสวนะ หรือวันพระในหนึ่งเดือนจะมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ หรือแรม ๘ ค่ำ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือแรม ๑๕ ค่ำ
กิจกรรมในวันนี้ชาวพุทธจะทำบุญตักบาตร รักษาอุโบสถศีล

๙.วันขึ้นปีใหม่ (เดือน ๑) บ้าง ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ บ้าง วันที่ ๑ เมษายน และวันที่ ๑๓ เมษายน (วันสงกรานต์) ต่อมาทางราชการโดยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป
กิจกรรมที่ชาวพุทธกระทำคือ ทำบุญ ตักบาตร บำเพ็ญศีล ฟังธรรม ปล่อยนก ปล่อยปลา เป็นต้น
.พิบูลสงคราม ประกาศในวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๓ โดยให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นวันขึ้นปีใหม่ และใช้เรื่อยมาจนทุกวันนี้


๑๐. วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน พ
วันสงกรานต์ ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ และในช่วงวันที่ ๑๓
กิจกรรมที่ชาวพุทธปฏิบัติ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เจริญภาวนา มีพิธีสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว เล่นน้ำสงกรานต์ ปล่อยนก ปล่อยปลา เป็นต้น
. วันสงกรานต์ .ศ. ๒๕๔๙ -๑๔-๑๕ เมษายน ทางราชการหยุด ๓ วัน ถือว่าเป็นวันครอบครัว ต่อมาจากราชการได้กำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ ๑ มกราคม


๑๑. วันสารทไทย ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๒ กันยายน
วันสารทไทย เป็นการทำบุญกลางปีของไทย เป็นเวลาระหว่างพืชพันธุ์ผลไม้กำลัง อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นที่น่าปิติยินดี น่ารื่นรมย์ ปัจจุบัน เป็นการทำบุญ ตักบาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ คือ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ล่วงลับไปแล้วด้วยอาหารคาวหวาน พร้อมทั้งกระยาสารท และกล้วยไข่ ทำบุญแล้ว ก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้ว



ความหมาย วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดการอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์ตลอด ๓ เดือน ในฤดูฝนจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พระสงฆ์จะทำพิธีออกพรรษา ซึ่งเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งเรียกว่า วันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันในเรื่องความประพฤติจะเป็นด้วยได้เห็นได้ฟังมาหรือระแวงสงสัยก็ตาม ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ วันนี้จึงเรียกว่า วันออกพรรษาหรือวันมหาปวารณา
      ๑. วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์
      ๒. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึน ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม
      ๓.ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา
         วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน๘ ปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่๑๐กรกฎาคม 
      ๔. วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีนี้ตรงกับวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ
วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานแล้ว ๘ วัน โดยนับจากวันที่พระองค์ปรินิพพาน
      ๕. วันเข้าพรรษา ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ กรกฎาคม พ
ความหมาย วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์จะต้องเข้าจำพรรษา จะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ คือต้องอยู่ประจำที่ตลอด ๓ เดือน ในฤดูฝน ตามพระวินัยบัญญัติ วันเข้าพรรษามี ๒ ระยะ
      ๖. วันออกพรรษา ตรงกับวันเสาร์ที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๙

หน้าที่ของคนไทย ต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง




 ใคร? มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด...ยกมือขึ้น
        การเลือกตั้ง ปี 2554 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 ก.ค.นี้ กกต.ในฐานะผู้จัดการเลือกตั้ง สื่อมวลชน พรรคการเมืองและผู้สมัคร รวมถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีความตื่นตัวและร่วมลุ้นกันมากว่า ท้ายที่สุดแล้วผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันก็มีประชาชนจำนวนไม่น้อยยังข้องใจเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการ ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อไม่ให้เสียสิทธิการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์นี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่รวมประชากรจากทุกสารทิศจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ เดินทางเข้ามาทำงาน และพักอาศัย  แต่หากไม่สะดวกกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ ภูมิลำเนาของตนเองจะต้องทำอย่างไร

 การเลือกตั้ง ปี 2554  แบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ
     1. การเลือกตั้งทั่วไป ในวันเลือกตั้ง วันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค.54 ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไปใช้สิทธิ ณ หน่วยเลือกตั้งที่มีรายชื่อในเขตเลือกตั้งของตนเอง
     2. การเลือกตั้งในเขตจังหวัด เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามทะเบียนบ้านในจังหวัดนั้นๆ ต้องเดินทางออกนอกเขต ไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้ง และได้แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตจังหวัด เพื่อใช้สิทธิล่วงหน้าวันที่ 26 มิ.ย.54 ณ หน่วยเลือกตั้งกลาง  ซึ่งจะได้กล่าวในโอกาสต่อไป
     3. การเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด ณ หน่วยเลือกตั้งกลาง วันอาทิตย์ที่ 26 มิ.ย.54 
     4. การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งจะต้องลงทะเบียนใช้สิทธินอกราชอาณาจักรให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 2 มิ.ย.54 และไปลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ในวันที่ 17-26 มิ.ย.54 ณ  สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือลงคะแนนทางไปรษณีย์ตามที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลกำหนด

 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดเป็นใคร ?
     ผู้ มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด คือ ผู้ที่ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ แต่ยังไม่ถึง 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง  และผู้ที่พักอาศัยหรือทำงานต่างถิ่น เช่น เข้ามาทำงานหรือพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร แต่มีชื่อในทะเบียนบ้านจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในวันเลือกตั้ง 3 ก.ค.54 ไม่สะดวกที่จะเดินทางกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ณ ภูมิลำเนาของตนเอง  แต่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปทำงาน

 หากจะขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าต้องทำอย่างไร?
      ให้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด ยื่นคำขอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดต่อนายทะเบียน อำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือผู้อำนวยการเขต ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 2 มิ.ย.54  ในส่วนของผู้ที่เคยลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งที่ผ่านมา หากไม่ได้เปลี่ยนแปลงที่ลงคะแนน สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด โดยไม่ต้องขอลงทะเบียนใหม่

 เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียน ประกอบด้วย
     1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้และมีเลขประจำตัวประชาชน13 หลัก
     2. ใบคำขอลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขตจังหวัด ซึ่งขอรับแบบฟอร์มได้ที่ สำนักงานเขตทุกแห่ง หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ www.ect.go.th  โดยจะยื่นด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน หรือส่งไปรษณีย์ ก็ได้  ทั้งนี้ สามารถยื่นคำใช้สิทธิเป็นกลุ่มได้ เพื่อความสะดวกในการดำเนินการ

 ลงทะเบียนแล้วไปเลือกตั้งเมื่อไหร่ ที่ไหน ?
     ภายหลังจากยื่นคำขอและได้รับการอนุมัติเรียบร้อย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดจะต้องไปเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 มิ.ย.54 เวลา 08.00 – 15.00 น. ณ ที่เลือกตั้งกลาง ซึ่ง สำนักงานเขตเป็นผู้กำหนด เช่น ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดที่เขตดินแดง  ก็ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง เป็นต้น ทั้งนี้สถานที่เลือกตั้งกลางนอกเขตจังหวัดจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ธงชาติและเพลงชาติไทย

ธงชาติและเพลงชาติ

            ประเทศหรือที่เรียกกันว่า ชาติ ”   หมายถึง  แผ่นดิน  อาณาเขต  และประชากรที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินนั้น  อันเป็นศูนย์รวมแห่งความรัก  ความสามัคคี  ความเสียสละ  ความกล้าหาญ   และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน  อันมีเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมประจำชาติเป็นของตัวเอง


ความหมายและความสำคัญของธงชาติไทย
                ธงชาติเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงวามเป็นชาติของประเทศหรือชาติต่าง ๆ ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป  ซึ่งแต่ละประเทศ  ธงชาติจะมีสีที่แตกต่างกันและคล้ายคลึงกันบ้าง
                ( พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน  นิยามคำว่า  ธงชาติ  ไว้ว่า  ธงชาติ  น.  ธงที่ความหมายถึงประเทศและธงชาติใดชาติหนึ่ง

ธงไตรรงค์  ธำรงไทย
            ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์เป็นสัญลักษณะของประเทศไทยหรือชาติไทยที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย  ซึ่งมีความหมายแสดงความเป็นเอกราชอธิปไตยของชาติ  รวมทั้งสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  ธงชาติจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ต้องได้รับความเคารพอย่างสูง  และยังมีความสำคัญทางจิตใจที่แสดงถึงความรักชาติ  ความรู้สึกที่มีร่วมกันของคนในชาติ  นอกจากนั้นยังเป็นเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ไม่อาจลบหลู่และสามารถเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติ  เพื่อจะได้ดำรงไว้ซึ่งความเป็นปึกแผ่นของประเทศไทยให้ยั่งยือตลอดไปชั่วกาลนาน

ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย
              ๑. ธงชาติไทย  มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  กว้าง  ๖  ส่วน   ยาง  ๙  ส่วน  ด้านกว้างแบ่งเป็น  ๕   แถบ  ตลอดความยาวของผืนธง   ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่   กว้าง   ๒    ส่วน  ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาว  กว้างข้างละ  ๑  ส่วน  ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดง  กว้างข้างละ   ๑   ส่วน  ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ธงไตรรงค์
              ๒. ธงราชนาวี  มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ  แต่ตรงกลางของผืนธงมีดวงกลมสีแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว  ๕  ใน ๖  ของความกว้างของผืนธง  โดยให้ขอบของดวงกลมจดขอบแถบสีแดงของผืนธง  ภายวงกลมมีช้างเผือกทรงยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธงหรือคันธง

ความหมายของสีธงชาติไทย
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๖   ทรงกำหนดความหมายของสีธงชาติไว้  ดังนี้
                        สีแดง              หมายถึง           ชาติ  คือประชาชน
                        สีขาว              หมายถึง           ศาสนา ( มิได้เน้นศาสนาใดโดยเฉพาะ )
                        สีน้ำเงิน           หมายถึง           พระมหากษัตริย์

เพลงชาติไทย

                ประวัติเนื้อเพลงชาติไทย พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" มาเป็นประเทศไทย ทำให้เกิดการแก้ไขบทร้องเพลงชาติใหม่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยประกาศให้ยื่นประกวดเนื้อเพลงที่แต่งให้เข้ากับทำนองเพลงชาติเดิมการประกวดครั้งนี้มีผู้ส่งบทเนื้อร้องเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ในที่สุดคณะกรรมการได้คัดเลือกบทเนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์เสนอให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัย ที่ประชุมปรึกษาพิจารณาแล้วลงมติรับบทเพลงนั้น โดยแก้ไขไปบ้างตามความเหมาะสม วันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลจึงได้ประกาศ "รัฐนิยมฉบับที่ ๖" ให้ใช้ทำนองเพลงชาติของพระเจนดุริยางค์ตามแบบที่มีอยู่ในกรมศิลปกรส่วนเนื้อร้องเพลงชาติให้ใช้บทเพลงของหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในนามของกองทัพบก ดังที่เราได้ยินได้ฟังกันอยู่ในทุกวัน

เนื้อเพลง
                              ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย       เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
                อยู่ดำรงค งไว้ได้ทั้งมวล                                               ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
                ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด                                  เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
                สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี                                   เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย