ภาพน่ารัก

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การรักษาศีล 5

ภาพ:B02001.jpg
        ศีล ( Morality ) คือ ความปกติและการรักษาศีลก็คือความตั้งใจรักษาปกติของตน อันเป็นหลักปฏิบัติไม่ทำให้เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นและเป็นหลักแห่งความประพฤติที่จะทำให้เกิดความสะอาดทางกายและวาจา ศีลมีหลายประเภท เช่น ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีลที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดความปกติในสังคมก็คือ ศีล 5 เพราะสะดวกและง่ายที่จะปฏิบัติ ศีล 5
      1. พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ตลอดจนการประทุษร้ายผู้อื่นให้เขาได้รับความเจ็บปวดและทรมานเช่น การปล่อยให้สุนัขที่ตนเลี้ยงอดอาหารตาย การลอบวางยาพิษ การใส่สารพิษลงในอาหารและน้ำ การใช้อาวุธทำลายผู้อื่น การทรมานและสร้างความตื่นตระหนกแก่คนและสัตว์
     2. พึงละเว้นจากการขโมย ฉ้อฉล ตลอดจนใช้อุบายโกงเพื่อหวังในทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น การลักเด็กเพื่อเรียกค่าไถ่จากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง การนำหรือพาเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตมาเป็นของตนเอง
     3. พึงละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม เช่น การประพฤตินอกใจสามีหรือภรรยาของตน การประพฤติล่วงเกินในบุตรภรรยาหรือสามีของผู้อื่น ตลอดจนการทำร้ายในของรักของใคร่ของผู้อื่นเพราะคำว่ากามในที่นี้มิได้หมายเฉพาะในเรื่องกามอารมณ์เท่านั้น แต่กินความไปถึงของรักของใคร่ เช่น การที่เราตีสุนัขของเพื่อนจนตาย นอกจากจะผิดศีลข้อที่ 1 แล้วยังผิดศีลข้อที่ 3 นี้อีกด้วยเพราะสุนัขนั้นเป็นของรักของเพื่อน
     4. พึงละเว้นจากการพูดเท็จ พุดส่อเสียดนินทาเพ้อเจ้อเหลวไหลพูดให้ร้ายผู้อื่น พุดเพื่อทำลายสามัคคีในหมู่คณะ พุดหยาบคาย ตลอดจนการพูดโน้มนำให้ผู้อื่นเกิดการปรุงแต่งทางกายอีกด้วย
     5. พึงละเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา ตลอดจนการทำในสิ่งที่จะทำให้เกิดความมึนเมาต่อประสาท อันเป็นผลให้ร่างกายสูญเสียความปกติ เช่น กัญชา ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาบ้า หรือยาขยัน บาร์บิตูและสิ่งเสพติดอื่นๆ

    อาราธนาศีล 5
 
(ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")

มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยันปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตยาถะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติยาถะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษา เป็นข้อๆ

คำสมาทาน ว่า
      ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า)
     อทินนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ,ฉ้อ ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช่ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ)
     กาเมสุมิจฺฉานารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
     มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง และคำล่อลวง อำพรางผู้อื่น)
    สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่าง ๆ )

 ประโยชน์ของศีล 5

ศีล 5 นั้น มีประโยชน์โดยรวม 2 ด้านคือ
      1.) เพื่อความสงบสุขของสังคม คือเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น อันจะส่งผลให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ความหวาดระแวง และความวุ่นวายในสังคม
      2.) เพื่อพัฒนาจิตใจของผู้ที่ถือศีลนั้นเอง เพราะศีล 5 นั้น ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อควบคุม ไม่ให้มีการแสดงออกทางกาย หรือทางวาจา ไปในทางที่ตอบสนองอำนาจของกิเลส

        การทำผิดศีลแต่ละครั้ง ก็คือการยอมให้กิเลสสามารถครอบงำจิตใจได้อย่างเต็มที่ จนถึงขั้นส่งผลให้มีการแสดงออกทางกายหรือทางวาจานั่นเอง ดังนั้น การทำผิดศีลแต่ละครั้ง จึงทำให้จิตหยาบกระด้างขึ้น ตามลักษณะของกิเลสที่ครอบงำจิตอยู่นั้น ถ้ายิ่งทำผิดศีลมากครั้ง และบ่อยครั้งมากขึ้นเท่าไหร่ จิตก็จะยิ่งหยาบกระด้างขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อจิตหยาบกระด้างขึ้น ก็ทำให้สามารถทำผิดได้รุนแรงมากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งก็จะส่งผลให้จิตหยาบกระด้างหนักขึ้นไปอีก เป็นวังวนพอกพูนไม่รู้จบสิ้น
        ทั้งนี้เพราะโดยทั่วไปนั้น คนเราจะไม่สามารถทำผิดได้ในขั้นที่หนักกว่าระดับความหยาบกระด้าง หรือระดับความประณีตของจิตที่เป็นอยู่ในขณะนั้น (ดูเรื่องลำดับขั้นของจิต ในหมวดบทวิเคราะห์ ประกอบ) เว้นแต่จะมีเหตุปัจจัย/สิ่งแวดล้อม ที่รุนแรงมากๆ มาบีบคั้น เช่นคนที่เคยตบยุงอยู่เป็นประจำ แต่ไม่เคยฆ่าสัตว์ที่ใหญ่กว่านั้นเลย จิตของเขาย่อมอยู่ในความประณีตระดับนั้น เขาย่อมสามารถตบยุงได้ ด้วยความรู้สึกที่ราบเรียบเป็นธรรมดา เพราะการกระทำนั้น อยู่ในขั้นที่ไม่หยาบเกินกว่าสภาพจิตปรกติของเขา
        แต่ถ้าให้เขาไปฆ่าเป็ดฆ่าไก่ เขาย่อมจะรู้สึกว่าไม่อยากจะทำ และเมื่อถูกเหตุการณ์บีบบังคับ ทำให้เขาเลี่ยงไม่ได้ เขาย่อมจะทำไปด้วยความรู้สึกที่ต้องฝืนใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่หยาบกว่าสภาพจิตปรกติของเขานั่นเอง และหลังจากนั้น เมื่อเขาต้องฆ่าเป็ดฆ่าไก่อีก เป็นครั้งที่ 2, 3, 4, ...... เขาย่อมจะสามารถทำได้ ด้วยความรู้สึกที่ฝืนใจน้อยลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะไม่ต้องฝืนใจเลย เพราะจิตของเขาจะหยาบกระด้างขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ทำลงไป ตั้งแต่ครั้งที่ 1, 2, 3, 4, ...... แล้วหลังจากนั้น เขาก็ย่อมที่จะฆ่าสัตว์ที่ใหญ่ขึ้นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามวังวนเช่นเดียวกันนี้
        ผู้ดำเนินการเคยฟังคำให้สัมภาษณ์ของอดีตมือปืนรับจ้าง ได้ความว่ามือปืนโดยทั่วไปนั้น เมื่อต้องฆ่าคนครั้งแรก จะทำไปด้วยความรู้สึกที่ต้องฝืนใจ และทำใจได้ยากลำบากมาก และหลังจากทำงานครั้งแรกนั้นสำเร็จแล้ว ก็จะรู้สึกแย่อยู่หลายวันกว่าจะสงบลงได้ แต่พอทำครั้งที่ 2, 3, 4, 5 ก็จะทำได้โดยสะดวกใจขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งประมาณครั้งที่ 6 หรือ 7 ก็จะทำได้ด้วยความรู้สึกที่ราบเรียบเป็นปรกติ
        ไม่เฉพาะการทำผิดศีลข้อแรก คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเท่านั้นที่อยู่ในวังวนแบบนี้ การทำผิดศีลข้ออื่นๆ ก็หนีไม่พ้นวังวนนี้เช่นกัน ซึ่งส่งผลให้คนที่ผิดศีลนั้น มีจิตใจที่หยาบกระด้างขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบจักสิ้น ทำให้เขาต้องห่างไกลจากความสุขอันประณีต ละเอียดอ่อนออกไปทุกที ต้องอยู่กับสภาพจิตที่เร่าร้อน หยาบกระด้างขึ้นทุกขณะ
        ครั้นพอได้มีโอกาสมารักษาศีล กิเลสทั้งหลายเหล่านั้นจึงครอบงำจิตใจได้น้อยลง เพราะถูกบังคับ ควบคุมไว้ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้แผลงฤทธิ์รุนแรงจนถึงขั้นแสดงตัวออกมาทางกาย หรือทางวาจา กิเลสจึงมีกำลังอ่อนลงเรื่อยๆ ส่งผลให้จิตประณีต ละเอียดอ่อนขึ้นไปเรื่อยๆ
        เช่นคนที่เคยฆ่าเป็ดฆ่าไก่อยู่เป็นประจำนั้น ถ้าเขาว่างเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเวลานานๆ ครั้นต่อมาเขาต้องกลับไปฆ่าเป็ดฆ่าไก่อีก เขาก็ย่อมจะทำได้ด้วยความรู้สึกที่ยากลำบาก ต้องฝืนใจมากกว่าในครั้งสุดท้ายที่เขาเคยทำมา ทั้งนี้ก็เพราะ จิตใจของเขาเริ่มประณีตขึ้นมาแล้วนั่นเอง

        การถือศีลแต่ละข้อนั้น จะส่งผลให้เกิดการขัดเกลา การปรับปรุงพัฒนาจิต ในทิศทางที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิเลสที่คอยบงการให้การกระทำผิดศีลข้อนั้นๆ เกิดขึ้น ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
     1.) การฆ่าสัตว์ กิเลสตัวหลักที่คอยบงการก็คือโทสะ (ความโกรธ) คือความไม่พอใจในสัตว์ที่ถูกฆ่านั้น กิเลสตัวรองก็คือโลภะ (ความโลภ) เพราะบางคนฆ่าสัตว์เนื่องจากความโลภเข้าครอบงำ เช่น อยากได้เงินค่าจ้าง ต้องการสัตว์นั้นมาเป็นอาหาร ความหวงแหนในทรัพย์สมบัติของตนจึงฆ่าสัตว์เพื่อปกป้องทรัพย์นั้น เพื่อให้คนยอมรับในความกล้าหาญ หรือเพื่อลาภยศที่จะตามมาจึงฆ่าสัตว์ให้คนเห็น ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังอาจมีสาเหตุมาจากกิเลสที่เป็นบริวาร ของโทสะหรือโลภะอีกเช่น ความพยาบาท ความอิจฉาริษยา ความแข่งดี ความตระหนี่ ฯลฯ
     2.) การลักทรัพย์ กิเลสตัวหลักที่คอยบงการคือโลภะ คือความอยากได้ในทรัพย์นั้น กิเลสตัวรองก็คือโทสะ เช่น บางคนลักทรัพย์เพราะความโกรธในตัวเจ้าของทรัพย์นั้น ทั้งที่ความจริงแล้ว ไม่ได้อยากได้ของสิ่งนั้นเลย ฯลฯ สาเหตุจากกิเลสที่เป็นบริวารก็เช่น ความพยาบาท ความอิจฉาริษยา ความแข่งดี ฯลฯ
     3.) การประพฤติผิดในกาม กิเลสตัวหลักที่คอยบงการคือโลภะ คือความยินดี พอใจในหญิง หรือชายนั้น กิเลสตัวรองคือโทสะ เช่น บางคนประพฤติผิดในกามเพราะความโกรธในคู่ของตน จึงทำเพื่อประชด หรือโกรธในผู้ที่หวงแหนคนที่เราประพฤติผิดด้วยนั้น หรืออาจจะโกรธในตัวคนที่เราล่วงเกินนั้นเองเลยก็ได้ จึงทำการล่วงเกินเพื่อให้คนคนนั้นเจ็บใจ หรือเป็นเพราะอารมณ์ไม่ดี จึงประพฤติผิดในกามเพื่อระบายความเครียด ฯลฯ สาเหตุจากกิเลสที่เป็นบริวารก็เช่น ความพยาบาท ความอิจฉาริษยา ทำไปเพื่อโอ้อวด ความแข่งดี ฯลฯ
    4.) การพูดปด กิเลสตัวหลักที่คอยบงการนั้น อาจเป็นโลภะ หรือโทสะก็ได้ เช่น บางคนโกหกหลอกลวง เพราะอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน บางคนโกหกเพราะความโกรธ เลยโกหกเพื่อให้คนที่ตนโกรธนั้นเดือดร้อน หรือได้รับความเสียหาย บางคนโกหกเพราะกลัวความผิด หรือกลัวความเดือดร้อนที่จะตามมาหากพูดความจริงออกไป ฯลฯ สาเหตุจากกิเลสที่เป็นบริวารก็เช่น ความพยาบาท ความอิจฉาริษยา ความตระหนี่ ความโอ้อวด ความแข่งดี ฯลฯ
      5.) การดื่มน้ำเมา รวมถึงของมึนเมาและสิ่งเสพติดทั้งหลาย อันเป็นสาเหตุให้ขาดสติ ซึ่งจะทำให้เกิดการผิดศีลข้ออื่นๆ ตามมา เพราะสติเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะคอยรักษาคุณความดีทั้งหลายไว้ และป้องกัน รักษาจิตจากสิ่งเลวร้ายทั้งหลาย กิเลสตัวหลักที่คอยบงการก็คือโลภะ คือความปรารถนาในความเพลิดเพลินยินดีอันเกิดจากการดื่ม หรือเสพนั้น กิเลสตัวรองคือโทสะ เช่น บางคนดื่มน้ำเมา หรือเสพสิ่งเสพติดเพราะความเครียด ความกังวลใจ ความทุกข์จากความผิดหวัง (สิ่งเหล่านี้จัดเป็นจิตในตระกูลโทสะ) ฯลฯ สาเหตุจากกิเลสที่เป็นบริวารก็เช่น ทำไปเพื่อโอ้อวด ความแข่งดี ฯลฯ

        การที่การห้ามจิตเพื่อที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ในแต่ละครั้งนั้น จะเป็นการขัดเกลา หรือปรับสภาพจิต ให้ประณีตขึ้นจากความหยาบกระด้างของกิเลสตัวใด ก็ขึ้นกับว่ากิเลสที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ที่พยายามครอบงำจิตให้ทำผิดศีลข้อนั้นในครั้งนั้น เป็นกิเลสตัวใดนั่นเอง การห้ามจิตในครั้งนั้น ก็จะเป็นการป้องกันการพอกพูนขึ้นของกิเลสตัวนั้น และในระยะยาวก็จะทำให้กิเลสตัวนั้นๆ อ่อนกำลังลง แต่โดยรวมแล้วการห้ามจิตแต่ละครั้ง ก็ย่อมจะทำให้จิตประณีตขึ้นด้วยกันทั้งนั้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือ จะไม่ทำให้จิตหยาบกระด้างมากขึ้นไปอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น